Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • 20 มี.ค.67 “วันวสันตวิษุวัต” เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

20 มี.ค.67 “วันวสันตวิษุวัต” เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 20 มี.ค.67 จะเป็น “วันวสันตวิษุวัต” หรือวันที่เวลาของกลางวันยาวเท่ากับกลางคืน โดยปรากฏการณ์นี้ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี นับเป็นช่วงเวลาของการก้าวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิในประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า “วันวสันตวิษุวัต” (อ่านว่า วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Vernal Equinox ซึ่งคำว่า “Equinox” มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน 2 คำ คือ Aequus แปลว่า เท่ากัน และ Nox แปลว่า กลางคืน ดังนั้น Equinox หมายถึงวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน

สำหรับในภาษาไทยจะตรงกับคำว่า “วิษุวัต” แปลว่า “จุดราตรีเสมอภาค” หมายถึง จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งก็คือวันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันนั้นนั่นเอง และปรากฏการณ์นี้ หนึ่งปีจะเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า “วันวสันตวิษุวัต” (Vernal Equinox) และในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เรียกว่า “วันศารทวิษุวัต” (Autumnal Equinox)

โดยในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ในจุดที่แตกต่างกัน และจะเปลี่ยนตำแหน่งไปวันละประมาณ 1 องศา ซึ่งตั้งแต่ช่วงเดือนธ.ค. ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่จากจุดใต้สุดขึ้นมาทางเหนือเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งที่ตั้งฉาก กับเส้นศูนย์สูตรของโลก และในวันที่ 20 มี.ค.67 ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก และจะตกทางทิศตะวันตกพอดี

สำหรับประเทศไทย วันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้นเวลาประมาณ 06:22 น. และจะตกลับขอบฟ้าในเวลาประมาณ 18:28 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร) นับเป็นวันก้าวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงของประเทศในซีกโลกใต้

นายศุภฤกษ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การที่แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศากับแนวตั้งฉากกับระนาบโคจร ของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ขึ้นมาบนโลกของเรานั่นเอง เราจะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า แตกต่างกับฤดูหนาวเวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว

ซึ่งปรากฏการณ์ถัดไปที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ จะเกิดขึ้นในวันที่ 21 มิ.ย.67 ซึ่งเป็น “วันครีษมายัน” (อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน) ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Summer Solstice เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุดเช่นกัน

โดยถือเป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันนานที่สุดในรอบปี นับเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และก้าวเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศในซีกโลกใต้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลของปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนท้องฟ้าได้ผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

รู้จัก “รยูจุนยอล” นักแสดงมากความสามารถ หนุ่มผู้ครองหัวใจสาวฮันโซฮี

ลูกน้องบิ๊กโจ๊ก แฉ! เส้นทางการเงิน “นายพล ต.-ครอบครัว”โยงเว็บพนัน BNK

เริ่มแล้วคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง! พายุฤดูร้อนถล่มหนัก! ฝนตก-ลูกเห็บตก บ้านเรือนเสียหายเพียบ